บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
Tel. 065-516-0292, 02-101-1944
Tossapol Y.
22 พ.ย. 2565
ปุ่ม Emergency Stop ที่ติดอยู่กับปั๊มลมจะใช้งานเมื่อใด
ปุ่ม Emergency Stop ที่ติดอยู่กับปั๊มลมจะใช้งานเมื่อใด
บทความนี้อ้างอิงถึงปุ่ม Emergency Stop ของปั๊มลมขนิด Oil Flooded
ปุ่ม Emergency Stop หรือ ปุ่มหยุดเครื่องฉุกเฉินในปั๊มลมอุตสาหกรรม เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับปั๊มลมอุตสาหกรรมที่ใช้อยู่ในโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานที่มีเรื่องความปลอดภัยมาเป็นอันดับที่ 1 เรามาดูกันว่า ปุ่ม Emergency Stopเราจะใช้งานในสถานการณ์แบบไหนบ้าง
1.ปุ่ม Emergency Stop จะใช้เมื่อมีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องปั๊มลม
เมื่อมีการบำรุงรักษาเครื่องปั๊มลม หรือ ทำการเปลี่ยนอะไหล่ตามวาระ การกดปุ่ม Emergency Stop ทิ้งไว้จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันบุคคลอื่นเข้ามาเปิดเครื่องใช้งาน เพราะหากไม่ได้กดปุ่ม Emergency Stop ไว้ในขณะที่ทำการบำรุงรักษาเครื่องปั๊มลม ในบางจังหวะหากมีคนไปกดเปิดใช้งานเครื่อง (โดยอาจเป็นการรู้เท่าไม่ถึงการ) อาจเกิดความเสียหายกับเครื่องปั๊มลมและอาจเกิดอันตรายกับผู้ที่ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก
2.ปุ่ม Emergency Stop จะใช้เมื่อมีการหยุดใช้เครื่องปั๊มลม
เมื่อมีการหยุดใช้เครื่องปั๊มลมตัวนั้นๆ เป็นระยะเวลานาน หากเป็นไปได้ควรกดปุ่ม Emergency Stop ทิ้งไว้ เพื่อไม่ให้เครื่องทำงานอัตโนมัติหรือป้องกันบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาเปิดปั๊มลมเอง
3.ปุ่ม Emergency Stop จะใช้เมื่อเครื่องมีปัญหาขณะใช้งาน
ตามชื่อของอุปกรณ์ ปุ่ม Emergency Stop ปกติจะใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเท่านั้น เช่น ไฟไหม้ หรือการเกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร เพราะการกดหยุดเครื่องด้วยวิธีปกติ เครื่องปั๊มลมจะมีระยะเวลาในการ unload ก่อนที่เครื่องจะจัดหยุดการทำงาน บางครั้ง ขั้นตอนดังกล่าวอาจลากยาวถึงหนึ่งนาที ซึ่งจะไม่ทันท่วงทีต่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เพราฉะนั้นเราควรหมั่นตรวจสอบปุ่ม Emergency Stop อยู่เสมอ และให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา
แล้วการกดปุ่ม Emergency Stop ในขณะที่เครื่องทำงาน โดยไม่มีเหตุผลอันควรจะมีปัญหาอะไรตามมาหรือไม่?
การกดปุ่ม Emergency Stop ของปั๊มลมโดยไม่มีเหตุผลจำเป็นในขณะที่เครื่องทำงานจะเป็นการบังคับให้เครื่องหยุดทำงานทันที ซึ่งผลเสียที่ตามมาคือ Unloader ภายในเครื่องจะปิดไม่ทัน ส่งผลให้แรงดันที่อยู่ภายใน Screw Element ผลักน้ำมันภายในออกมาโดน Air Filter ซึ่งจะเกิดเป็นความเสียหายถาวรกับอะไหล่ชิ้นดังกล่าว